DHL Global Forwarding บริษัทผู้นำด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เล็งเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนของการขนส่งทางถนนข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดการณ์ว่ากลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะมีการเติบโต 5.5 เปอร์เซนต์ ภายในปี 2021 จากแรงหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ผ่านการฟื้นตัวทางภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการกระจายตัวของซัพพลายเชนของบริษัทในภูมิภาค

Mr. Kelvin Leung ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท DHL Global Forwarding Asia Pacific กล่าวว่า “ความร่วมมือทางการค้าภายในเอเชียจะเติบโตอย่างแน่นแฟ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลังจากมีการผ่อนคลายลงของข้อจำกัดทางการค้าและมีการดำเนินตามมาตรการใหม่สำหรับการค้าระหว่างภูมิภาค เช่น ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ACTS) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศกลุ่มอาเซียน ที่พร้อมจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากผ่านการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ไปได้”

Mr. Kelvin Leung

ทั้งนี้ หนึ่งในการพัฒนาหลักทางการค้าระหว่างภูมิภาค ได้แก่ ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน หรือ ASEAN Customs Transit System (ACTS) ที่เริ่มขึ้นในปี 2020 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนอาเซียนได้อย่างราบรื่น ผ่านมาตรฐานและการรับประกันที่ครอบคลุมทั้งอากรขาเข้าขาออกและภาษีตลอดการดำเนินงาน

ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกที่คาดการณ์ว่าจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในปี 2021 ส่งผลให้ตลาดการขนส่งสินค้าทางถนนของอาเซียน สามารถมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นกว่า 8 เปอร์เซนต์ ภายในปี 2020-2025 นอกจากนี้ การใช้จ่ายผ่านรูปแบบอีคอมเมิร์ซของผู้บริโภค และธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2027 ยังมีส่วนเข้ามาเสริมความต้องการของโซลูชันการขนส่งสินค้าแบบ door-to-door ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

Mr. Thomas Tieber ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท DHL Global Forwarding Southeast Asia กล่าวว่า “การขนส่งทางถนนกำลังมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาการขนส่งระยะไกลระหว่างประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและยั่งยืน ตามที่เราได้เห็นในปีที่แล้ว อัตราค่าขนส่งทางอากาศและทางทะเลมีการผันผวนอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยโซลูชันการขนส่งทางถนน หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้นำเสนอราคาที่ยั่งยืนยิ่งกว่า ควบคู่กับความสามารถในการขนส่ง และการเข้าถึงชายแดนที่ง่ายยิ่งขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

Mr. Thomas Tieber

ปัจจุบัน ผู้ใช้บริการหันมาเลือกใช้การขนส่งทางถนนเพิ่มมากขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งระยะใกล้และไกล เพราะการขนส่งทางถนนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าการขนส่งทางอากาศ ทั้งนี้ การขนส่งทางถนนที่ต่อเนื่องสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ (air-road shipment) จาก Jakarta มายังกรุงเทพฯ ผ่านสิงคโปร์ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงครึ่งหนึ่ง พร้อมการประหยัดต้นทุน 35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเที่ยวบินตรงผ่านการขนส่งทางอากาศเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การขนส่งสินค้าทางถนนจากสิงคโปร์ ไปยังจีน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 83 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ

“การขนส่งทางถนน กำลังมุ่งหน้าสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี เพื่อประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความยั่งยืนที่มากขึ้น ผ่านการใช้เชื้อเพลิงที่ประหยัดพลังงานคาร์บอน โดยปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันจะผลักดันการเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่งสินค้าทางถนน และสร้างโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่จูงใจและยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต” Mr. Tieber กล่าวเสริม

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้PSA ร่วมกับ ONE ลงนาม MoU ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บทความถัดไปสหไทย เทอร์มินอล เพิ่มช่องทางการติดต่อ ด้วย Line Official Account
Phubet Boonrasri
Chen is an experienced writer and an avid explorer of nature. He thrives on travelling, hiking, and backpacking to new places. His wanderlust has allowed him to experience and learn from new cultures, allowing him to better accommodate for whatever comes his ways.